ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) ได้ก่อตั้งขึ้นจากการปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2546 มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญกฎหมายเฉพาะสาขา อันได้แก่ สาขาวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร สาขาวิชากฎหมายแพ่งพาณิชย์และอาญา สาขาวิชากฎหมายมหาชน และสาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ

หลักสูตรเปิดรับนิสิตจบปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาอื่นที่มิใช่นิติศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง หรือสำเร็จขั้นปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่าสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง โดยบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น รับราชการเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ รวมถึงการปฏิบัติงานบริษัทเอกชน อาทิ ที่ปรึกษากฎหมายในสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ หรือฝ่ายกฎหมายในบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจ ตลอดจนทนายว่าความด้านกฎหมายธุรกิจ

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตร 3 ปี โดยแบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร สาขาวิชากฎหมายแพ่งพาณิชย์และอาญา สาขาวิชากฎหมายมหาชน และสาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ  โดยลงทะเบียนเรียนวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด (การเปิดสาขาวิชาขึ้นอยู่กับจำนวนนิสิตในแต่ละปีการศึกษา)

1) หลักสูตร 3 ปีปีละ 2 ภาคการศึกษา
2) ลงทะเบียนเรียน 104 หน่วยกิตหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์ 80 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเฉพาะสาขา (บังคับเลือก) 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก/เลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ช่วงเวลาเรียน ชั้นปีที่ หน่วยกิต วิชาเรียน
ภาคต้น
สิงหาคม – ธันวาคม
ชั้นปีที่ 1 16 หน่วยกิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์
ชั้นปีที่ 2 21 หน่วยกิต วิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์
ชั้นปีที่ 3 14 หน่วยกิต วิชาบังคับเฉพาะสาขา
วิชาเลือก/เลือกเสรี
ภาคปลาย
มกราคม – พฤษภาคม
ชั้นปีที่ 1 19 หน่วยกิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์
ชั้นปีที่ 2 21 หน่วยกิต วิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์
ชั้นปีที่ 3 13 หน่วยกิต กลุ่มวิชาเฉพาะสาขา
วิชาเลือก/เลือกเสรี

เวลาเรียน

วันจันทร์ – ศุกร์เวลา 17.30 – 21.00 น.
วันเสาร์เวลา 09.00 – 16.00 น.

การสมัครและแนวการคัดเลือก

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

  1. สำเร็จขั้นปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่าในสาขาอื่นที่มิใช่นิติศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง หรือ
  2. สำเร็จขั้นปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่าสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง หากปรากฏในภายหลังว่าผู้สมัครหรือผู้สอบผ่านการคัดเลือกขาดคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น จะถูกตัดสิทธิมิให้เข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) แม้ว่าจะผ่านการสอบคัดเลือกหรือเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ แล้วก็ตาม หรือแม้สำเร็จการศึกษาแล้วก็จะถูกเพิกถอนปริญญาบัตร

จำนวนที่คาดว่าจะรับ ปีการศึกษา 2565

จำนวน 300 คน

วิธีการคัดเลือก

การสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์

ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา

1. ค่าเล่าเรียน ภาคการศึกษาละ21,000 บาท
2. ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ25,000 บาท

ระยะเวลาการรับสมัคร

เปิดรับสมัครระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี

วิธีการสมัคร

ยื่นใบสมัครทาง Online ที่ https://law.chula-regist.com/

บุคลากรประจำหลักสูตร

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ)

  • รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา

ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ)

  • อาจารย์ฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช

เจ้าหน้าที่หลักสูตร

  • ว่าที่ ร.ต.หญิง ชญณิพัฒฑ์ คลี่ขจาย
  • นางสาวอัยรดา เจสละ

ติดต่อหน่วยงาน

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ)

  • อีเมล llb-grad@law.chula.ac.th
  • โทร. 02-218-2013, 02-218-2092 (กรณีที่คณะเปิดทำการในสถานการณ์ปกติ)
  • โทร. 095-367-6125 (กรณีที่คณะเปิดทำการออนไลน์)

ตัวอย่างวิชาในหลักสูตร

วิชา อาจารย์ผู้บรรยาย เนื้อหา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศ.(พิเศษ)ธานิศ เกศวพิทักษ์ หลักทั่วไปในการดำเนินคดีแพ่งเขตอำนาจศาล วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น อุทธรณ์และฎีกา
ศ.(พิเศษ)อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
การเจรจาต่อรองและการร่างสัญญา ศ.(พิเศษ)กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ หลักการ กระบวนการ การวางแผน การเตรียมประเด็น และทักษะการเจรจาต่อรอง การร่างสัญญา สถานการณ์จำลองในการเจรจาต่อรองและการร่างสัญญา
อ.เทพชล โกศล
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการลงทุนและการเงิน อาจารย์จิริเดชา พึ่งสุนทร นโยบายเกี่ยวกับการลงทุนทางอุตสาหกรรมหลักการทางกฎหมายและทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการลงทุนทางอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศประเด็นกฎหมายในการจัดโครงสร้างการลงทุนและการจัดหาเงินสนับสนุนโครงการทั้งจากแหล่งเงินกู้และจากประชาชน สัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนทางอุตสาหกรรม