ความเป็นมา

ปัจจุบันคนไทยใช้สื่อสังคมออนไลน์และบริการทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมากอย่างเป็นสัดส่วนกัน รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้มีการตรากฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตระหนักถึงอันตรายหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการถูกนำข้อมูลไปแสวงหาประโยชน์ทางการค้าหรือโดยมิชอบยิ่งมีอยู่น้อยกว่า

ตั้งแต่ปี 2561 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (LDRC) มีส่วนสำคัญและนับเป็นหน่วยงานหลักเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สร้างองค์ความรู้และยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบบริการสาธารณะ ในรูปแบบคู่มือที่แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ และได้รับความสนใจและตอบรับจากหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ และโดยเฉพาะว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวได้นำเสนอในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ… และถูกตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2561

ทั้งนี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกฎหมายใหม่ และเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยี Law Lab for Personal Data Protection (Law Lab PDPA) จึงเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นพื้นที่นิสิตที่มีความสนใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้เรียนรู้ ฝึกฝน ตลอดจนพัฒนาตนเองโดยให้คำแนะนำเพื่อช่วยเหลือให้แก่องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้าร่วมโครงการฯ และสามารถปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง

ผลงานของ Law Chula และ LDRC

Thailand Data Protection Guidelines 1.0 (TDPG 1.0) (2561)
Thailand Data Protection Guidelines 2.0 (TDPG 2.0) (2562)
Thailand Data Protection Guidelines 3.1 for Investment Banking Activities (TDPG 3.1) (2564)
Thailand Data Protection Guidelines 3.0 Extension (TDPG 3.0 Extension) (2564)
Thailand Data Protection Guidelines 3.2 for Research & Statistics (2564)
ถาม-ตอบ PDPA จากห้องเรียน Chula MOOC (2564)
ถาม-ตอบ PDPA จากห้องเรียน Chula MOOC (2565)
Thailand Electronic Signature Guidelines 1.0
Data Strategy Framework for Public Sector
กรอบแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ข้อมูลภาครัฐ
Thailand Artificial Intelligence Guidelines 1.0
คู่มือมาตรฐานและแนวปฏิบัติสำหรับงานข่าวและสื่อสารมวลชน
Professional Journalism Ethics Toolkit 1.0

วัตถุประสงค์

  1. นิสิตผู้ปฏิบัติการได้เรียนรู้เรื่องการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  2. นิสิตผู้ปฏิบัติการได้ทำ workshop และให้คำปรึกษาแก่องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
  3. Law Lab PDPA ทำบริการสาธารณะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้รับผิดชอบ

รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง

ผลงาน Law Lab PDPA

ปี 1 (2564)

หน่วยงานร่วมโครงการฯ : บริษัท ยูเนียน เว็ลธ์ จำกัด (Union Wealth) 
ผลงาน :  

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  2. วิเคราะห์และประเมินหาช่องว่างในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Gap Analysis) 
  3. บันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  4. รายงานการดำเนินการและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
  5. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  6. แบบฟอร์มขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ปี 2 (2565)

หน่วยงานร่วมโครงการฯ : คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ 
ผลงาน :  

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  2. วิเคราะห์และประเมินหาช่องว่างในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Gap Analysis) 
  3. บันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในระบบของมหาวิทยาลัย
  4. รายงานการดำเนินการและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
  5. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  6. แบบฟอร์มขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

ปี 3 (2566)

หน่วยงานร่วมโครงการฯ : โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ผลงาน :  

  1. รายงานการดำเนินการและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
  2. ฐานทางกฎหมายที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ประมวลผลในแต่ละกิจกรรม
  3. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับอาจารย์ ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  5. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่และบุคลากร ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  6. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับคู่ค้า นักวิจัยและบุคคลภายนอก ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  7. แบบฟอร์มขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    รายงานห้องปฏิบัติการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (2566)

Law knowledge Series

  1. EP.3 มาตรการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของนักธุรกิจในธุรกิจขายตรงที่มีรูปแบบหลายชั้น (พ.ย. 2564)
  2. EP.4 ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562(ธ.ค. 2564)
  3. EP.5 ปัญหาการใช้ฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบของธนาคารพาณิชย์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล(ธ.ค. 2564)
  4. EP.6 ข้อจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริตในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ม.ค.2565)
  5. EP.7 ผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการรายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ : ศึกษากรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา (มิถุนายน 2565)
  6. EP.8 ปัญหาการบังคับใช้มาตรา 37 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (กรกฎาคม 2565)
  7. EP.9 กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก
  8. EP.10 มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษี
  9. EP.11 สถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศซอฟลอว์: กรณีศึกษาประมวลกฎต่อต้นการใช้สารต้องห้ามโลก 2021
  10. EP.12 ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาวในฐานเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  11. EP.13 กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : จากสิทธิในความเป็นส่วนตัวสู่มาตรฐานทางธุรกิจ
  12. EP.14 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : กรณีกิจกรรมสื่อมวลชนและกิจกรรมของสภา*
  13. EP.15 การออกแบบลวงผู้ใช้งาน (deceptive patterns) หรือที่เรียกว่า ‘dark patterns’

สนใจเข้าร่วม Law Lab PDPA หรือติดต่อสอบถาม

นิสิตที่สนใจเข้าร่วมงานกับ Law Lab PDPA หรือหน่วยงานและองค์กรที่สนใจเข้าร่วมรับคำปรึกษากับ Law Lab for PDPA สามารถติดต่อที่ lawlabpdpa@gmail.com
แบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมโครงการ (สำหรับหน่วยงานและองค์กรภายนอก) คลิก!